วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เด็กหญิง กฤติญา พันโนราช ชั้น ม.3/6 เลขที่ 17

โรงเรียนนารีนุกูล จัดตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2428 โดยนางจงราชกิจ(หนู ศิริโสถติ์) ได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นเป็นครั้งแรกที่บ้านของท่าน ในปีพ.ศ. 2443 พระญาณรักขิต (พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ - จันทร์ สิริจฺนโท) เจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานี ได้ตั้งชื่อโรงเรียนแห่งนี้ว่า นารีนุกูล จึงนับปีนี้เป็นปีก่อตั้งโรงเรียน ในปีพ.ศ. 2458 หลวงวิสณฑ์ดรุณการได้รวมโรงเรียนเพิ่มวิชานารีกับโรงเรียนนารีนุกูลเข้าเป็นโรงเรียนเดียวกัน ในปีพ.ศ. 2460 โรงเรียนนารีนุกูลได้ตั้งเป็นหลักฐานมั่นคงเป็นครั้งแรกที่บริเวณบ้านเหนือ ซึ่งเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานีในปัจจุบัน ในปีพ.ศ. 2480 ทางราชการให้งบประมาณก่อสร้างอาคารใหม่ขึ้น ณ บริเวณตะวันออกของทุ่งศรีเมืองโรงเรียนนารีนุกูลจึงย้ายออกจากที่เดิมไปอยู่ที่ใหม่และเปิดเรียนวันแรกในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 และในปีพ.ศ. 2515 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนขึ้นในสถานที่ใหม่ เนื้อที่ 37 ไร่ 1 งาน 67 ตารางวาซึ่ง นายเดช ถิรวัฒน์ เป็นผู้บริจาคให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนารีนุกูลในปัจจุบัน เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2516 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ทรงพระกรุณาเสด็จวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนหลังที่ 2 และโรงเรียนได้ถือเอาวันที่4 มกราคม เป็นวันสถาปนาโรงเรียน เมื่อพ.ศ. 2538 โรงเรียนนารีนุกูลเปลี่ยนจากโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดเป็นโรงเรียนสหศึกษา

สัญลักษณ์
ตราสัญลักษณ์
ตราประจำโรงเรียนนารีได้แก่ พุ่มดอกไม้ซึ่งประดับด้วยกลีบดอกบัว อันเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี ยอดของพุ่มประดับด้วยส่วนยอดขแงมงกุฏ อันเป็นเครื่องหมายแสดงความเครพเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ มีรัศมีปรากฏบนยอดแสดงความเจริญรุ่งเรือง ขอบล่างประดับด้วยผ้าโบสลักชื่อโรงเรียน
ความหมาย เป็นเครื่องหมายของสถาบันการศึกษาแห่งนี้ และสะท้อนให้แนวปรัชญาการศึกษาที่สถาบันแห่งนี้มุ่งให้การศึกษา การฝึกฝนอบรมให้แก่เด็กเยาวชนที่รับเข้ามาเป็นศิษย์ เกิดการพัฒนามีความเจริญงอกงาม ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและสติปัญญาเป็นบุคคลที่ทรงคุณค่า มีศิลปะและวัฒนธรรม ความเป็นไทย เสมือนพุ่มดอกไม้ที่ได้รับการแต่งประดับให้เป็นของสูงค่า



สีธงประจำโรงเรียน
ธงประจำโรงเรียนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งครึ่งตามแนวนอน ครึ่งบนเป็นสีกรมท่า ครื่งล่างเป็นสีชมพู
  • กรมท่า หมายถึง ความวิริยะอุตสาหะ เข้มแข็ง อดทน และมั่นคง
  • ชมพู หมายถึง คุณธรรมความดี ร่าเริง แจ่มใส

ปรัชญา
"นารีนุกูล เพิ่มพูลปัญญา รักสามัคคี มีเกียรติวินัย"
  • ความหมาย ชาวนารีนุกูลทุกคน จักต้องฝึกตนเองให้เป็นผู้ไฝ่รู้อยู่เสมอ รู้รักสามัคคี รักษาเกียรติ และวินัย

คติธรรม
"ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจาริ"(ธรรม ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม)
อาคาร และ สถานที่สำคัญในโรงเรียนนารีนุกูล

  • อาคารราชกิจ
    • ชั้นที่ ๑ ที่ตั้งฝ่ายกิจการนักนักเรียน ห้องแนะแนว ห้องพยาบาล ห้องคณะกรรมการนักเรียน ห้องศูนย์ มศธ.
    • ชั้นที่ ๒ ที่ตั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
    • ชั้นที่ ๓ ที่ตั้งห้องภูมิศาสตร์ ห้องเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓
    • ชั้นที่ ๔ ที่ตั้งห้องพระพุทธศาสนา ห้องเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

  • อาคารวชิราคาร
    • ชั้นที่ ๑ ที่ตั้งฝ่ายวิชาการ
    • ชั้นที่ ๒ ที่ตั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ห้องเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
    • ชั้นที่ ๓ ห้องเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
    • ชั้นที่ ๔ ห้องเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

  • อาคารพระญาณ
    • ชั้นที่ ๑ ที่ตั้งห้องเตรีมเคมี ห้องเรียนสีเขียว
    • ชั้นที่ ๒ ที่ตั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ห้องเตรียมชีววิทยา
    • ชั้นที่ ๓ ที่ตั้งห้องเตรียมฟิสิกส์ ห้องเรียนโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ

  • อาคารรักขิต
    • ชั้นที่ ๑ ที่ตั้งห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ห้องเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
    • ชั้นที่ ๒ ที่ตั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ห้องเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
    • ชั้นที่ ๓ ห้องเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

  • อาคารหลวงวิสณฑ์
    • ชั้นที่ ๑ โรงอาหาร
    • ชั้นที่ ๒ ที่ตั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
    • ชั้นที่ ๓ ที่ตั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ห้องนาฏศิลป์ ห้องดนตรีไทย ห้องทัศนศิลป์
    • ชั้นที่ ๔ ที่ตั้งโรงยิม

  • อาคารดรุณการ
    • ชั้นที่ ๑ ที่ตั้งสหกรณ์ร้านค้านารีนุกูล
    • ชั้นที่ ๒ ที่ตั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ห้องภาษาญี่ปุ่น ห้องภาษาจีน
    • ชั้นที่ ๓ ที่ตั้งห้องเรียน Narinukun International Programme (NIP) ห้องเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
    • ชั้นที่ ๔ ที่ตั้งห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

  • อาคาร ๑๑๐ ปี นารีนุกูล
    • ชั้นที่ ๑ ที่ตั้งกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
    • ชั้นที่ ๒ ที่ตั้งห้องเรียนทั่วไป

  • อาคารเฉลิมพระเกียรติ
    • ชั้นที่ ๑ โรงอาหาร
    • ชั้นที่ ๒ หอสมุดนารีนุกูล

  • อาคารอำนวยการ
    • ชั้นที่ ๑ ฝ่ายอำนวยการ
    • ชั้นที่ ๒ ห้องผู้อำนวยการสถานศึกษา

  • อาคาร ๑๑๑ ปี นารีนุกูล
    • ชั้นที่ ๑ ห้องวงโยธวาทิต ออร์เคสตรา (orchestra) ฝ่ายอาคารและสถานที่
    • ชั้นที่ ๒ ห้องเรียนทั่วไป
  • หอประชุมนารีนุกูล
  • สระว่ายน้ำนารีนุกูล
  • อาคารคีตราชันย์
  • อาคารเกียรตสุรนนท์
  • อาคารศูนย์การเรียนเกษตร
  • อาคารประชาสัมพันธ์
  • อาคารนารีนุกูลสมาคม
  • อาคารคหกรรม
  • อาคารอุตสหกรรม
  • อาคารเกียรติยศ โรงเรียนนารีนุกูล